THE GURU • INVESTMENT

โลกของสินทรัพย์หลังการทำ Tapering

บทความโดย: ปุณยวีร์ จันทรขจร (เป๊ก)

            ตัังเเต่ Q3 เป็นต้นมา การประกาศทำนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ FED ทำให้นักลงทุนไม่ว่าจะเป็นระดับสถาบันหรือรายย่อยล้วนเเล้วเเต่ต้องวางเเผนกันใหม่หมด

            การทำ Tapering อธิบายง่าย ๆ คือการลดวงเงินการซื้อสินทรัพย์ของธนาคารกลางสหรัฐซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าจากนี้นโยบายการเงินจะไม่ผ่อนคลายเเบบเดิมเเล้วนะ เเละนั่นหมายถึงสภาพคล่องในระบบที่หายไป

            การที่ราคาสินทรัพย์ต่างๆทั้งหุ้นเเละทองคำที่วิ่งขึ้นอย่างรุนเเรงในช่วง Covid สวนทางกับความรู้สึกกับของเราเเทบทุกคนนั้น หลักๆมาจากสภาพคล่องที่ธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดเข้ามา

ในโลกการเงินไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
มันมีเเต่สภาพคล่องที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน

            การถอดถอนสภาพคล่องจึงเป็นการบอกเป็นนัย ๆ ว่าจากนี้จะไม่มีเม็ดเงินเข้ามามากเหมือนเดิมเเล้ว สินทรัพย์ที่สะท้อนผลตอบรับทางจิตวิทยาของตลาดดูได้จากทั้งผลตอบเเทนพันธบัตรที่สูงขึ้นเเละค่าเงินดอลลาร์ที่เเข็งค่าขึ้นโดยทั่วไปเเล้วผลตอบเเทนพันธบัตรที่สูงขึ้นคือการที่ต้นทุนทางการเงินทีสูงขึ้น เเละต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นไม่มีเป็นผลดีกับสินทรัพย์เสี่ยงเช่น หุ้นบางกลุ่ม เช่น กลุ่มที่มีหนี้สูงหรือกลุ่มที่มีปันผลต่ำเเละเทรดในระดับพีอีที่สูงเเละการที่ดอลลาร์ที่เเข็งค่าขึ้น บอกเราว่าสภาพคล่องของดอลลาร์ในตลาดตึงตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นสินทรัพย์ใดก็ตามที่เทรดบนดอลลาร์ย่อมปรับตัวลงเป็นปกติ

คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่าควรโยกเงินไปที่ไหนดี ก็ต้องมาพิจารณากันรายสินทรัพย์ ยกตัวอย่างเช่น

            หุ้น Growth >> ได้รับผลกระทบด้านลบโดยตรง จากการปรับตัวขึ้นของผลตอบเเทนพันธบัตร ที่มีเเนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อไม่ว่าประเด็นเรื่องเพดานหนี้สหรัฐจะผ่านหรือไม่ก็ตาม

            หุ้น Value >> อีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี หากธุรกิจนั้นๆสามารถคงมาร์จิ้นในสภาวะเงินเฟ้อได้

            หุ้นไทย >> ยังคงได้รับผลกระทบจาก Earning Yield Gap ที่เเคบลงทำให้ความน่าสนใจในหุ้นลดลง ทำให้ต้องไปลุ้นกับธีม Domestic Play มากกว่า Global Play

            ทองคำ >> ถือเป็นสินค้าที่น่าจับตาอีกตัวใน Q4 เพราะเรียกได้ว่าทองคำเป็น Underperformed Asset ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เเต่หากธีมเงินเฟ้อกลับมา ทั้งจากเงินเฟ้อจากนโยบายการเงินที่่อาจกลับมาผ่อนคลายเเละปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดจาก Supply Chain โดยจะมีเเรงขับเคลื่อนสำคัญจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง

            อย่างไรก็ดีนอกจากปัจจัยทิศทางการกำหนดสภาพคล่องของ FED เเล้ว ยังคงมีประเด็นเรื่อง Debt Ceiling หรือเพดานหนี้รัฐบาลสหรัฐที่จะ Guideline ให้เราว่า Flow เงินรอบใหญ่จากนี้อีกครั้งว่าจะหมุนไปทางไหน

            ช่วงนี้ถือว่ายากครับ ทุกอย่างยังไม่นิ่งทั้งในฝั่ง Dot Plot ที่บอกเเนวโน้มดอกเบี้ยหรือต้นทุนของเงินในอนาคต ทั้งผลตอบเเทนพันธบัตรสิบปีของรัฐบาลสหรัฐที่ใช้เป็น Benchmark บอกความน่าสนใจของตลาดหุ้น ทำให้ Theme play เเต่ละช่วงเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตลอด ช่วงนี้ธีมเงินเฟ้อชัดขึ้นเเต่ปีหน้าเงินฝืดอาจจะกลับมาคุกคามก็ได้

            การถือเงินสดมากขึ้นเพื่อรอโอกาสชัดๆถือเป็นกลยุทธ์ที่ดีในช่วงนี้เเละการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ใหม่ๆกลายเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เเล้วครับ 

เกี่ยวกับนักเขียน

ปุณยวีร์ จันทรขจร (เป๊ก) Full time trader นักลงทุนรุ่นใหม่ที่ลงทุนทั้งในตลาดไทยเเละต่างประเทศประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ปัจจุบันเป็นทั้งวิทยากรด้านการเงินเเละการลงทุน เเละนักเขียน Best Seller หนังสือหุ้นเเละเศรษฐศาสตร์

อ่านบทความทั้งหมดของนักเขียน