เปิดประตูลงทุนหุ้นเอเชียปี 66 รับการเติบโต-แรงหนุนเศรษฐกิจโลก
นับถอยหลังราว 2 สัปดาห์ ก็จะเข้าสู่ปีใหม่ปี 2566 เป็นการเริ่มต้นแห่งปีกระต่ายปราดเปรียว และแข็งขัน นักลงทุนทั่วโลกต่างมองข้ามชอตไปปีหน้า พร้อมใจกันยกให้เป็นปีแห่งความหวัง sunrise ที่ซีกโลกเอเชียมากกว่าตะวันตกที่ยังคุกรุ่นด้วยวังวนของวิกฤตการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อ แม้ราคาน้ำมันจะลดลงบ้างแล้ว แต่ก็มีความไม่แน่นอนสูงจากรัสเซีย ที่พร้อมจะรุกรานยูเครนและขยายวงสู่ยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งวังวนของ sunset นี้ยังคงยืดเยื้อข้าม ไปปี 2565
ธนาคารกลางหลายประเทศยังคงเดินหน้านโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นต่อเนื่องจนกว่าจะเห็นสัญญาณ
เงินเฟ้อลดลงมาใกล้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปราว 2%
พิษของดอกเบี้ยขาขึ้นที่เร่งตัวขึ้นเร็วและแรงในปี 2565 เริ่มออกฤทธิ์กระทบเศรษฐกิจหลักหลาย ประเทศ ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ในปีหน้า อย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป สหราชอาณาจักร ล้วนกดดันให้เศรษฐกิจโลกไม่สดใส
IMF เตือนวิกฤตพลังงานฉุดเศรษฐกิจซีกโลกตะวันตก
‘หมดพลัง’
เมื่อเดือนพฤศจิกายน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้ออกมาย้ำเตือนอีกครั้ง ก่อนการประชุม G20 ที่อินโดนีเซีย โดยสะท้อนภาพดัชนี PMI ทั้งภาคผลิตและภาคบริการ ของประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่ม G20 ชะลอตัวลง ดัชนีบางประเทศก็หดตัว ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ที่พุ่งสูงอย่างมาก เป็นสัญญาณความท้าทายของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้
พร้อมมองว่าวิกฤตพลังงานที่เลวร้ายลงในยุโรปจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานจะกระตุ้นให้ธนาคารกลางปรับขึ้นดอกเบี้ยนานกว่าที่คาด
ข้อมูลในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Outlook เมื่อเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา IMF ได้ปรับคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ของโลกในปี 2565 ลงสู่ระดับ 3.2% และปี 2566 หั่นคาดการณ์ GDP โลกลงเหลือ 2.7% จาก 2.9% ซึ่งเป็นการเติบโตที่อ่อนแอที่ สุดในรอบ 22 ปี นับตั้งแต่ปี 2001 ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกจะแตะสูงสุดในช่วงปลายปีนี้ ที่ระดับ 8.8% จากระดับ 4.7% เมื่อปีที่แล้ว ก่อนจะชะลอตัวในปีหน้า 6.5% และปีถัดไปแตะ 4.1%
เศรษฐกิจโลกมากกว่า 1 ใน 3 ของประเทศต่างๆ จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจหดตัวในปีนี้หรือปีหน้า โดยคาด GDP พี่ใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐฯ ปีหน้าลดลง 1% ได้รับผลกระทบจากการเร่งปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)
ส่วนยูโรโซน
คาดปีหน้าเติบโต 0.5% ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานสูงขึ้น เพราะสงคราม รัสเซียรุกรานยูเครน
IMF เตือนสถานการณ์ในยุโรปว่า ฤดูหนาวปีนี้เป็นฤดูกาลที่ท้าทาย
แต่ฤดูหนาวปีหน้าจะเลวร้ายยิ่งกว่า
โดยวิกฤตพลังงานจะกดดันเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างหนัก
เนื่องจากสงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อ ทำให้ปัญหาพลังงานกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง
บรรดานักวิเคราะห์ต่างพากันถกเถียงว่า Fed จะตอบสนองต่อเงินเฟ้อได้เร็วพอหรือไม่ ขณะที่ ธนาคารกลางยุโรปเพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2014 และธนาคารกลาง อังกฤษต้องประกาศมาตรการเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ และรับมือกับ การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร โดย IMF แนะว่า อังกฤษจำเป็นต้องปรับแผน การดำเนินนโยบายการเงินครั้งใหญ่ให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
จับโอกาสลงทุนในฝั่งเอเชีย ‘จีน-ญี่ปุ่น-เวียดนาม’
มาดูความหวังของโลกที่อยู่ฝั่งซีกโลกตะวันออก
IMF ระบุว่า เศรษฐกิจของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ และกำลังพัฒนาในเอเชียยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง
และคาดว่าจะมีบทบาทช่วยพยุงเศรษฐกิจโลก ทั้งปีนี้และปีหน้า
นำโดยประเทศจีนที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับสองของโลก ทาง IMF คาด GDP ปีนี้ที่ 3.2% ได้รับผลกระทบจากมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดของโควิดและวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ แต่ปีหน้าจะขยายตัว 4.4% ภายใต้การคาดการณ์ว่าจีนจะมีการเปิดประเทศ ซึ่งเวลานี้ทั่วโลก เฝ้ารอ ‘ข่าวดี’ ว่าจีนจะประกาศออกมาเมื่อไหร่
ขณะที่ฮ่องกงได้ประกาศเปิดเมืองเต็มรูปแบบตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2565 นี้ ถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่ดี และในปีหน้าหากจีนเปิดประเทศและคนจีนสามารถเดินทาง ได้อย่างเสรี การผลิตสินค้าจะทำได้ต่อเนื่องมากขึ้น การบริโภคในประเทศและความต้องการ สินค้าจะเพิ่มขึ้น ภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ หากจีนเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ก็จะได้เห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโลกอีกด้วย ผมจึงมองว่าซีกโลกตะวันออกเป็น Sunrise ที่คนทั้งโลกกำลังรอคอ
จากการสำรวจของ
Bloomberg ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์หลายคน มองว่าจีนจะเปิดประเทศในช่วงไตรมาส
2 ปี 2566 หลังจากการประชุมสภาในเดือนมีนาคม ในขณะที่ Goldman Sachs มองว่ามีโอกาส
30% ที่รัฐบาลจีนจะเปิดประเทศเร็วกว่าที่คาดการณ์
ส่วนนักวิเคราะห์ของ Bloomberg คาดการณ์ว่าจีนอาจเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงกลางปี 2566 จากสัญญาณการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เช่น การผ่อนคลายมาตรการ กักตัวของผู้ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ และการผ่อนคลายมาตรการเดินทางในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังได้เร่งฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น รวมถึงเตรียมความพร้อมทางการแพทย์ เพื่อรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อที่อาจเพิ่มขึ้นหลังเปิดประเทศด้วยเช่นกัน
ส่วนญี่ปุ่นที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2 ในกลุ่มประเทศพัฒนา รัฐบาลญี่ปุ่นคาด GDP ปีนี้ เติบโต 2% ซึ่งเป็นการค่อยๆฟื้นตัวจากผลกระทบโควิด แม้ตลาดส่งออกสำคัญหลายแห่งของ ญี่ปุ่นยังคงส่งสัญญาณชะลอตัว ส่วนปีหน้าคาดการณ์ GDP ยังขยายตัวเป็นบวก 1.1% ถือว่า ยังเติบโตเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วด้วยกันอย่างสหรัฐฯ ยุโรป และสหราชอาณาจักร
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยประคองเศรษฐกิจญี่ปุ่น คือ การบริโภคภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า ครึ่งของ GDP ญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านการใช้จ่ายในการลงทุนซื้อสินทรัพย์มาเพื่อใช้ใน การดำเนินงานของบริษัท หรือ Capital Expenditure และการส่งออก ที่ช่วยสนับสนุนการเติบโต ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินเยน ทำให้ค่าครองชีพและต้นทุนการนำเข้า สูงขึ้น เป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจ
แต่ถึงแม้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวต่ำ แต่เชื่อหรือไม่ว่า มีกองทุนใหญ่ของโลก ได้เพิ่มน้ำหนัก ลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นด้วย นั่นก็คือ ‘Berkshire Hathaway’ ของ ‘Warren Buffett’ นักลงทุนชื่อดังของโลกซึ่งลงทุนในหุ้นบริษัทญี่ปุ่นจำนวน 5 ตัวมานานแล้ว หุ้นแต่ละตัวมีสัดส่วนถือหุ้นราว 5% ของจำนวนหุ้นชำระแล้วของแต่ละบริษัท และเมื่อไม่นานนี้ ดูเหมือนว่า Berkshire Hathaway ได้ลงทุนหุ้นญี่ปุ่นแต่ละตัวในสัดส่วนเพิ่มมากกว่า 6% แล้ว
ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดที่เปิดเผยต่อหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ คือ Berkshire Hathaway มีสัดส่วนลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นทั้ง 5 เพิ่มขึ้น ได้แก่ Mitsubishi Corp จาก 5.04% เป็น 6.59% Mitsui & Co จาก 5.03% เป็น 6.62% Itochu Corp จาก 5.02% เป็น 6.21% Marubeni Corp จาก 5.06% เป็น 6.75% Sumitomo Corp จาก 5.04% เป็น 6.57%
ผมมองว่า การเพิ่มน้ำหนักลงทุนครั้งนี้เพราะ Warren Buffett มองเห็นโอกาสลงทุนหุ้นญี่ปุ่น มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากคุณอยากได้ข้อมูลแบบเจาะลึกหุ้นทั้ง 5 นี้อย่างละเอียดด้วยแพลตฟอร์ม Jitta สามารถเข้าไปดูได้ฟรีที่นี่ https://jitta.co/3uWi7vI นะครับ
เวียดนามเป็นอีกประเทศเนื้อหอมที่นักลงทุนต่างชาติตบเท้าเข้ามาลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะการลงทุนทางตรง (FDI) เนื่องจากเศรษฐกิจเวียดนามมีศักยภาพเติบโตสูง
ทั้งด้านการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงการลงทุนภาครัฐและเอกชน ซึ่งนักลงทุนต่างชาติ ที่เข้าไป ไม่ใช่แค่ในเอเซียอย่างเกาหลีใต้
สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เท่านั้น แต่เวลานี้นักลงทุนสัญชาติ สหรัฐอเมริกา
หรือเยอรมันก็พาเหรดเข้ามาสู่เวียดนามแล้ว ถือเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจ ของเวียดนามขยายตัวสูงเกินกว่า
7% ต่อเนื่องหลายปีแล้ว และล่าสุดรัฐบาลเวียดนามคาด GDP ปีนี้เติบโต 8%
และปีหน้าเติบโต 6-7 %
ขณะที่ตลาดหุ้นในช่วงปีนี้ร่วงหนักกว่า 36% ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจหรือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนแย่ลงแต่อย่างใด แต่เนื่องมาจากตลาดหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) จึงยังมีปัญหาด้านกฎระเบียบข้อบังคับอยู่บ้าง ปัญหาปั่นหุ้น ปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ อาจกระทบความเชื่อมั่นการลงทุนบ้าง ประกอบกับธนาคารมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วน เลือกจะถอนเงินจากตลาดหุ้นและนำเงินไปฝากไว้ในธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากที่มีความเสี่ยงต่ำลงแทน
แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ธนาคารกลางเวียดนามได้ยื่นมือเข้ามาแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และเติมสภาพคล่องทางการเงิน ช่วยจำกัดขอบเขตผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ลุกลาม ไปในวงกว้างได้ แนวโน้มการเติบโตของเวียดนาม ยังได้ประโยชน์จากสงครามการแย่งชิงความ ได้เปรียบทางเทคโนโลยีด้วยการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และชิป ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามมีโอกาส ได้มูลค่าเพิ่มจากการเป็นฐานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ให้โลก
เวียดนามในตอนนี้ทั้งกำลังฟื้นตัวและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้เรื่อยๆ
และยังรักษา สมดุลของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนได้เป็นอย่างดี
อย่างที่ผมย้ำอยู่ตลอดว่าเวียดนาม มีศักยภาพในการเติบโตที่ดี ยิ่งวันนี้หุ้นดีๆ
มีราคาถูกน่าสนใจลงทุนอย่างมาก ล่าสุด อัตราส่วน P/E ของตลาดหุ้นเวียดนาม ณ วันที่
5 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 13.2 เท่า คือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย P/E 10 ปีที่ 15.7 เท่า
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผมหวังว่าจะทำให้คุณมองเห็นโอกาสการลงทุนในตลาดฝั่งเอเชียนะครับ แต่หากคุณคิดว่าขวบปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเหมือนอยู่บนรถไฟเหาะ และเริ่มเหนื่อยกับการวิ่งขึ้น วิ่งลงตามข่าวสารที่ออกมาแทบทุกวัน ผมก็อยากสะกิดว่า วันนี้คุณก็สามารถก้าวข้ามมรสุมต่างๆ เหล่านั้นมาได้จนถึงปลายปีนี้แล้วนะครับ หรือถ้าคุณเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ที่สามารถยืนหยัด มาถึงยามนี้ก็อย่าลืมปรบมือให้ตัวเองกับประสบการณ์ที่ได้เพิ่มพูนขึ้นมากเลยทีเดียว จริงไหมครับ
หากว่าคุณยังมีพลังใจและมีเป้าหมายจะลงทุนเพื่อความมั่งคั่งในระยะยาว ผมขอให้คุณ เดินหน้าต่อครับ ยึดหลักการลงทุนที่ถูกต้องและกลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลจริง ให้เป็นเหมือนเข็มทิศ กำหนดทิศทางการลงทุนของคุณบรรลุเป้าหมายได้
อย่างน้อย วันที่คุณเริ่มต้นลงทุน ก็ถือว่าคุณได้ทำตามสิ่งที่ตัวเองตั้งใจไว้แล้ว ซึ่งทั้งหลักการ และกลยุทธลงทุนก็ได้ผ่านการกลั่นกรองความคิด ทำการบ้าน และตัดสินใจบนหลักการแล้ว แม้ในวันข้างหน้า หากราคาหุ้นยังวิ่งขึ้นหรือวิ่งลงต่อ ก็ขอให้คิดว่าคุณทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วในเวลานั้น
ผลลัพธ์ที่ออกมา ก็แค่เก็บผลของการกระทำนั้นมาเรียนรู้ และหมั่นพัฒนากลยุทธ์การลงทุนของ ตัวเองให้เฉียบแหลมยิ่งขึ้นเท่านั้น
ผมขอเป็นกำลังใจให้คุณเดินหน้าเข้าสู่โลกแห่งการลงทุนในปี 2566 อย่างมั่นใจและหนักแน่น นะครับ หรือหากอยากขอคำแนะนำหรือปรึกษาการลงทุน ติดต่อผมมาหลังไมค์ที่ https://jitta.co/3HIhVIc ได้เลยนะครับ ผมยินดีอย่างยิ่งครับ