AWARDS • MONEY & BANKING AWARDS

รางวัลเกียรติยศกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2565 กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อินคัม ฟันด์-หน่วยลงทุนชนิดรับซื้อคืน หน่วยลงทุนแบบดุลยพินิจของผู้ลงทุน (UINC-N)

บทความโดย:

รางวัลเกียรติยศกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2565

กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อินคัม ฟันด์-หน่วยลงทุนชนิดรับซื้อคืน

หน่วยลงทุนแบบดุลยพินิจของผู้ลงทุน (UINC-N)

 

เจิดพันธุ์ นิธยายน

กรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน

บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด

 

“กองทุน UINC-N เหมาะกับผู้ลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จุดเด่นคือ สามารถลงทุนใน Fixed Income Asset Class ที่หลากหลาย และมีการปรับพอร์ตการลงทุนได้อย่างยืดหยุ่น จึงมีโอกาสสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอในทุกสภาวะตลาด”

 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี(ประเทศไทย) จำกัด (บลจ.ยูโอบี) ได้รับรางวัลกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2565 ประเภทกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ (Foreign Fixed Income Fund) กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อินคัม ฟันด์-หน่วยลงทุนชนิดรับซื้อคืน หน่วยลงทุนแบบดุลยพินิจของผู้ลงทุน (UINC-N)

เจิดพันธุ์ นิธยายน กรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด(บลจ.ยูโอบี) กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลกองทุนยอดเยี่ยมว่ามีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติ ขอขอบคุณ วารสารการเงินธนาคาร ที่ได้จัดงานมอบรางวัลกองทุนยอดเยี่ยมเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมและเป็นการให้กำลังใจการทำงานในแวดวงตลาดเงินตลาดทุน ทีมงานของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด (บลจ.ยูโอบี) เครือข่ายสาขาในภูมิภาค และพันธมิตรทางธุรกิจจะแสวงหาโอกาสการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละภาวะตลาด ผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์นักลงทุนเพื่อให้นักลงทุนไทยได้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

 

ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้กองทุนประสบความสำเร็จ

กองทุน UINC-N เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO)ซึ่งเปิดเสนอขายไปตั้งแต่ช่วงกุมภาพันธ์ 2563 ด้วยความร่วมมือในระดับภูมิภาค และพันธมิตรระดับสากล อย่าง J.P. Morgan Asset Management โดยลงทุนผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Funds - Income Fund C (Acc) USD กระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก ผ่านการลงทุนในกองทุน JPMorgan Funds -Income Fund C (Acc) USD 

กองทุนหลัก กระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก อาทิ ตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน, ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) ตราสารหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้(High Yield Bonds) ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond) ตราสารที่เกี่ยวข้องกับ Mortgage-related Securities และ Asset-backed Securities ฯลฯ

นอกจากนี้ มีผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์สูง และทีมนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละอุตสาหกรรมทำหน้าที่บริหารกองทุน เน้นการบริหารแบบเชิงรุก (Active) ร่วมวางแผนพัฒนาและปรับพอร์ตลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดบนความเสี่ยงที่เหมาะสม

โดยคาดหวังผลตอบแทนเท่ากับการลงทุนใน High Yield Bond แต่มีความผันผวนต่ำกว่า เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดในกรอบความผันผวนประมาณ 4-6% ต่อปี นอกจากนี้มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทั้ง บลจ. ยูโอบี, UOB Asset Management (Singapore) และ J.P. Morgan Asset Management วารสารการเงินธนาคาร จะพิจารณาคัดเลือกกองทุนด้วยวิธีเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยง(Risk Adjusted Return) โดยเปรียบเทียบผลตอบแทนกองทุน ณ ธันวาคม 2021 ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด เมื่อปรับค่าความเสี่ยงให้เท่ากับทุกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน นั่นหมายความว่า กองทุนที่ได้รับรางวัลกองทุนยอดเยี่ยมจะต้องเป็นกองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีภายใต้การควบคุมความผันผวนที่มีประสิทธิภาพ


กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจครึ่งปีหลัง 2565

ด้วยความร่วมมือในระดับภูมิภาค บลจ.ยูโอบี ยังคงมุ่งมั่นสรรหาโอกาสการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ๆ ที่จะสร้างโอกาสให้กับนักลงทุนได้ เช่น ETF เป็น บลจ.แรกในไทย ที่ขยายช่องทางการลงทุน ETF โดยรองรับช่องทางการซื้อขายทั้งจากนักลงทุนที่มีบัญชีซื้อขายหุ้น สามารถลงทุนได้ผ่านโบรกเกอร์ และนักลงทุนที่มีบัญชีซื้อขายกองทุนรวม ก็สามารถเข้าถึงการลงทุนได้

นอกจากนี้ การลงทุนในธุรกิจที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งย่อมาจาก Environment, Social และ Governance เป็นกระแสที่ บลจ.ยูโอบี เห็นว่าเริ่มมีนักลงทุนให้ความสนใจบนพื้นฐานความเชื่อว่า การสร้างสมดุลในการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้ จะส่งผลให้บริษัทมีความสามารถในการสร้างผลกำไรในระยะยาวได้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำของกลุ่มยูโอบีในภูมิภาคเพื่อปรับขั้นตอนการลงทุนให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของธุรกิจESG ที่เป็นไปตามแนวทางของ PRI (Principles forResponsible Investment) เข้ามาประกอบการตัดสินใจในการบริหารกองทุนปัจจุบันมีการนำเสนอกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจ ESGผ่านกองทุนรวมสำหรับลูกค้ารายย่อย กองทุนส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าสถาบัน และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมไปถึงกองทุนรวมที่มีอยู่แล้วและได้มีการปรับกระบวนการลงทุนตามแนวทาง ESG

ด้านการพัฒนาระบบซื้อขายกองทุนออนไลน์ ทาง บลจ.ยูโอบีได้ริเริ่มพัฒนา Mobile Application “UOBAM INVEST”และบนเว็บไซต์ผ่านระบบ Premier Online ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องกับการคิดค้นและพัฒนาบริการ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้นักลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการลงทุนมาทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์กันมากขึ้น มากไปกว่านั้น ตอกย้ำความสำเร็จความผู้นำด้านดิจิตอล บลจ.ยูโอบี ได้รับรางวัล Best Digital Wealth Management จาก Asia Asset Managementต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 อีกด้วย

 

มุมมองการลงทุนในช่วงที่เหลือของปี 2565

เศรษฐกิจโลกมีโอกาสเข้าสู่สภาวะถดถอยในระยะข้างหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ แต่ บลจ.ยูโอบี มองว่ากรณีพื้นฐาน (Base Case) จะเป็นในลักษณะที่ไม่รุนแรง (Soft Landing) และตระหนักถึงโอกาสในกรณีที่เศรษฐกิจหดตัวแบบรุนแรง (Hard Landing) เช่นกันซึ่งการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Mode) ท่ามกลางสภาวะความไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและไม่ควรที่จะกลัวการลงทุนมากไป (Too Bearish)

ทั้งนี้ ด้วยสภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงการลงทุนในสินทรัพย์ประเภท Real Asset รวมถึงหุ้นยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากสามารถส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปในรูปแบบของราคาสินค้าหรือบริการที่สูงขึ้นได้บางส่วนทำให้การลงทุนในหุ้นสามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อได้ด้วยเช่นกัน (Inflation Hedged) อย่างไรก็ดี ต้องอาศัยการคัดสรร (Selection) และ การกระจายการลงทุน (Diversification) ไปยังสินทรัพย์อื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย

สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น และอาศัยการคัดสรรตราสารที่มากขึ้น (Selection) โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน ESG เพื่อคัดกรองบริษัทที่มีคุณภาพและช่วยลดความผันผวนและ Downside จากการลงทุน นอกจากนี้ ให้จับตาดูความชัดเจนในเรื่องการดำเนินนโยบายทางการเงินซึ่งในปัจจุบันได้ Priced-In การขึ้นดอกเบี้ยไปมากพอสมควรแล้วและตลาดจะให้ความสำคัญเรื่องการลดขนาดสินทรัพย์ (Quantitative Tightening) และเรื่อง Global Recession ในระยะถัดไป

บลจ.ยูโอบี มองว่าเศรษฐกิจมีโอกาสถดถอยได้จริงแต่เป็นในลักษณะที่ไม่รุนแรง (Soft Landing) กล่าวคือ เศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง 1-2 ไตรมาสก่อนที่จะกลับมาสู่ระดับการเติบโตปกติ