BEST SECURITES COMPANY AWARDS รางวัลบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยม
BEST SECURITES COMPANY AWARDS
รางวัลบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยม
ด้านการให้บริการแก่นักลงทุนบุคคล
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธิติ ตันติกุลานันท์
ประธานกรรมการบริหาร
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ด้วยผลงานการให้บริการแก่นักลงทุนประเภทบุคคลที่โดดเด่นในปีที่ผ่านมา
ส่งผลให้ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยม Best Securities
Company Awards ด้านการให้บริการแก่นักลงทุนบุคคล
ธิติ ตันติกุลานันท์ ประธานกรรมการบริหาร
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลว่า
รู้สึกดีใจที่ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูง ทั้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และจาก วารสารการเงินธนาคาร เพราะรางวัลนี้ บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย
ตั้งเป้าหมายจะได้ทุกปี และเคยได้รับรางวัลดังกล่าวมาแล้ว 3
ปีซ้อน ทำให้ทีมงานทุกคนดีใจเป็นอย่างมาก
“บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย
ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอย่างมาก และในช่วง 4-5
ปีที่ผ่านมา กระแสโซเชียลมีเดียมาแรง จนถึงปัจจุบันที่มีการใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
บริษัทได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าทั้งวิธีการลงทุน
การอ่านบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ตลอดจนวิธีการรับข้อมูลข่าวสาร
เพื่อนำมาเปรียบเทียบและปรับวิธีการสื่อสารได้อย่างถูกวิธี เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า”
จุดเด่นมัดใจลูกค้า
ดูแล-ให้ความรู้ ตั้งแต่ก้าวแรกสู่โลกการลงทุน
บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย ตั้งสมมติฐานไว้ว่า
การลงทุนเป็นเรื่องยาก จึงให้ความสำคัญกับการดูแลใส่ใจลูกค้าตั้งแต่เริ่มเปิดบัญชี
ธิติยกตัวอย่างเหตุการณ์ในอดีตว่า มีลูกค้าเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์จำนวนมาก
ถัดมา 2-3 ปี
ก็พบว่าเมื่อขาดทุนก็หยุดลงทุนส่งผลให้บัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว
ซึ่งเป็นแบบนี้ทั้งอุตสาหกรรม
ดังนั้น
จึงได้นำเอาประสบการณ์มาใช้ในการทำงานเพื่อช่วยเหลือลูกค้า
ส่งผลให้ในแต่ละปีมีนักลงทุนหน้าใหม่เปิดบัญชีกับบริษัทเฉลี่ย 20,000
บัญชีต่อปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 ที่ผ่านมา มีลูกค้าเปิดบัญชีใหม่แตะ 40,000
บัญชี หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเดือนมกราคม 2564
มีลูกค้าเปิดบัญชีใหม่แล้วกว่า 20,000 บัญชี
ธิติกล่าวว่า
บริษัทมีจุดเด่นด้านการให้บริการนักลงทุนทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าปัจจุบันที่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
และสามารถพัฒนาตัวเองเรื่องการลงทุนได้อย่างต่อเนื่องใน 4
ด้านดังนี้
ประการแรก การดูแลใส่ใจลูกค้าตั้งแต่ขั้นตอนแรกที่มาเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
ที่ลูกค้าสามารถเลือกศึกษาได้ตามไลฟ์สไตล์การลงทุน โดยมีหนังสือเกี่ยวกับข้อมูล
เปิดประตูสู่การลงทุนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด “ความสุข
คู่การลงทุน” ที่ส่งผ่านไฟล์ PDF ไปยังอีเมลล์ของลูกค้า
ทั้งหมด 3 เรื่องคือ 1.นักลงทุนเน้นคุณค่า
(Value Investor) 2.นักลงทุนแนวเทคนิค (Technical Investor)
และ 3.นักลงทุนโมเมนตัม (Momentum Investor)
ประการที่ 2
มีบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ครอบคลุมหุ้นจำนวนถึง 170
ตัว ถือว่ามากที่สุดในอุตสาหกรรม โดยหุ้นที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลผ่านนักวิเคราะห์จะมีความแม่นยำสูง
ประการที่ 3
เน้นรูปแบบออนไลน์ในการสื่อสารกับลูกค้า มีทั้งวิดีโอผ่านช่องทาง Facebook
Live และช่องทาง Youtube โดยจัดรายการที่มอบความรู้ให้กับลูกค้าในแต่ละวัน
ในปัจจุบัน บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย มีรายการทั้งหมด 3
รายการ ที่โลดแล่นอยู่ในโลกออนไลน์ และได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี ประกอบด้วย
รายการ KS Forward ช่วง
เวลา 08.45-09.45 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์
โดยมีรูปแบบรายการที่นำเรื่องราวข่าวสารประจำวันมาขยายความ เช่น อัตราดอกเบี้ย
และหากมีบทวิเคราะห์ใหม่จะนำมาพูดคุยในรายการให้ลูกค้าฟัง
มีกระแสตอบรับจากลูกค้าเข้าชม ทุกช่องทาง (Facebook, Youtube) เฉลี่ย
20,000 -30,000 ครั้งต่อวัน
รายการ 3
ศาสตร์ ช่วงเวลา 19.30 น. ทุกวันเสาร์
เป็นรายการที่นำหุ้นในกระแสของแต่ละสัปดาห์มาวิเคราะห์โดยนักวิเคราะห์กลยุทธ์มาเล่าให้ฟัง
ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี โดยมียอดผู้เข้าชม 16,000
ครั้งต่อสัปดาห์
รายการ Stock 101
ช่วงเวลา 19.30 น. ทุกวันศุกร์
ถือเป็นรายการใหม่ล่าสุดที่เริ่มต้นในเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
โดยนำเสนอหุ้นที่น่าสนใจในแต่ละสัปดาห์
และใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายที่สุดเหมือนพูดให้คนที่บ้านฟัง มียอดผู้เข้าชม 5,000
- 10,000 ครั้งต่อสัปดาห์
นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบ
อินโฟกราฟฟิก (Infographic) โดยกระจายผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น
แอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) อินสตาแกรม (Instagram) และ
เฟซบุ๊ก (Facebook) เพื่อให้ลูกค้ารับข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้นและหลากหลายช่อง
และในเดือนเมษายนนี้จะมีรายการใหม่ที่น่าสนใจให้ลูกค้ารอติดตามอีกด้วย
ประการที่ 4
มีผลิตภัณฑ์การลงทุนครอบคลุมเพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้ลูกค้า
ทั้งบริการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 2,500
บัญชี ขณะที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมซื้อขาย (คอมมิสชั่น) ในอัตราการเดียวกับหุ้นไทย
นอกจากนี้ มีหุ้นกู้ และหู้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Note) ตลอดจนการเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมที่ครอบคลุม
16 บลจ.
ทีมผู้จัดการเงินทุนบุคคล-เทคโนโลยี โดดเด่น
สำหรับการให้บริการลูกค้าเป็นสิ่งที่ บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย
พยายามทำให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการจัดทีมเพื่อดูแลให้เหมาะสมและตรงตามไลฟ์สไตล์การลงทุนของลูกค้าแต่ละราย
ปัจจุบันลูกค้าสามารถทำการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ 2
ช่องทาง คือ ผ่านผู้จัดการเงินทุนบุคคล หรือ การซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต
การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านผู้จัดการเงินทุนบุคคล
บริษัทมีทีมผู้จัดการเงินทุนบุคคลที่มีประสบการณ์และผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี
ในการให้คำแนะนำด้านการลงทุนทั้งปัจจัยพื้นฐานและเทคนิคเพื่อให้สอดคล้องกับ
อัตราผลตอบแทนที่ต้องการและความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละรายที่แตกต่างกัน
ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต
บริษัทมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพของระบบ
การซื้อขายหลักทรัพย์ทางอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องเพื่อ
ความปลอดภัยและตอบสนองการลงทุนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น โดยบริษัทจะมีทั้งโปรแกรมสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์และอนุพันธ์
รวมถึงโปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก่ลูกค้าอีกด้วย
ปัจจุบัน บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย มีลูกค้ากว่า
220,000 บัญชี มีการซื้อขายสม่ำเสมอ (Active) สัดส่วน
40% ซึ่งสูงกว่าอุตสาหกรรมที่มีบัญชีซื้อขายสม่ำเสมอ
35%
ขณะที่มีการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านช่องทางออนไลน์ 70 % ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด
30%
ธิติกล่าวว่า ในระยะ 4-5
ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ 50%
และขยับขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันตัวเลขเริ่มนิ่งแล้ว
เนื่องจากมีนักลงทุนบางกลุ่มที่ถนัดส่งคำสั่งซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด
โดยช่องทางออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจด้านการลงทุน
มุมมองการลงทุนปี 64
อย่ามองข้ามการชะลอตัวของ ศก.
สำหรับทิศทางการลงทุนในปี 2564
ธิติกล่าวว่า ทั่วโลกกำลังเผชิญกับสภาพคล่องที่มีจำนวนมาก เป็นผลมาจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
(QE) ทำให้นักลงทุนมองข้ามเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากการมีวัคซีนป้องกัน ขณะที่ บมจ.หลักทรัพย์
กสิกรไทย มองว่า ความเสี่ยงยังคงมีอยู่หากวัคซีนมีการล่าช้าไม่ได้มาตามที่คาดไว้จะทำให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนได้
ภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน และสภาพคล่องที่มีอยู่มาก นักลงทุนต้องหาจังหวะในการลงทุน โดยควรจัดสรรเงิน หรือแบ่งพอร์ตการลงทุน เช่น 70% เป็นการซื้อขายระยะสั้น และ อีก 30% เป็นการลงทุนระยะยาว
รับชมวิดีโอสัมภาษณ์...