Best Deal of the Year Awards รางวัลดีลยอดเยี่ยมแห่งปี 2563
Best Deal of
the Year Awards
รางวัลดีลยอดเยี่ยมแห่งปี 2563
บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์
ทองอุไร ลิ้มปิติ
ประธานกรรมการ บริษัทบริหารสินทรัพย์
กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด
(มหาชน) หรือ BAM ได้รับรางวัลดีลยอดเยี่ยมแห่งปี
2563 ในกลุ่มรางวัล Business
Excellent ในงาน SET Awards 2020 โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ร่วมกับ วารสารการเงินธนาคาร มอบให้แก่องค์กรและบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน
ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงปีที่ผ่านมา
โดยพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน (Deal) ที่โดดเด่น สร้างความเปลี่ยนแปลง
หรือนวัตกรรมครั้งสำคัญให้กับตลาดทุน เช่น การระดมทุน การควบรวมกิจการ (M&A) หรือการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นในขอบเขตที่
ก.ล.ต. อนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินดำเนินการได้
ทองอุไร ลิ้มปิติ ประธานกรรมการ
บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM เปิดเผยถึงความรู้สึกที่ได้รับรางวัลว่า
เป็นความภาคภูมิใจของทีมงานทุกคน ในบริษัท เพราะกว่าจะมาถึงวันนี้
ทีมงานทุกคนตั้งใจทำงานหนักมากมาตลอด 20 ปี ขอขอบคุณ ทุกฝ่ายที่ให้การสนับสนุน BAM ตลอดมาและมีส่วนผลักดันให้สามารถเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ
อีกทั้งรางวัลนี้ได้มาจากการร่วมกันพิจารณาจากหลายฝ่ายนั่นหมายความว่า BAM สามารถผ่านข้อกำหนดทั้งหมดได้
จึงทำให้เป็นความภาคภูมิใจของทุกๆ คนในบริษัทเป็นอย่างมาก
เปลี่ยนหนี้เสียเป็นหนี้ดี
มุ่งปรับโครงสร้างหนี้เศรษฐกิจไทย
ทองอุไร กล่าวถึงที่มาของ BAM ว่า
ตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวดูดซับสินทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพออกจากระบบธนาคารพาณิชย์
เพื่อมาบริหารจัดการ
เพื่อให้สินทรัพย์เหล่านั้นสามารถพลิกฟื้นให้กลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ดังนั้น
บทบาทของ BAM จะเปรียบได้กับ
โช้กกันกระแทก (Shock
Absorber) ของระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่ง BAM ทำหน้าที่นี้มากว่า
20 ปี ดังนั้น การเข้าถึงตลาดทุน มีแหล่งระดมทุนที่หลากหลายขึ้น
เพื่อเป็นองค์กรที่เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับเศรษฐกิจไทย จึงเป็นที่มาของ BAM ในการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ในส่วนของภาพรวมในปัจจุบัน แม้ว่า BAM จะเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว
แต่บทบาทหลักก็ยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้ดูดซับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
ไม่ว่าจะเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพ หรือสินทรัพย์ที่ถูกธนาคารพาณิชย์อายัดมาแล้ว ซึ่ง BAM ประมูลสินทรัพย์เหล่านั้นออกมาบริหารจัดการ
ทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกหนี้ หรือ SME
ที่กำลังมีปัญหาด้านหนี้สินกลับมามีที่ยืน
สามารถเข้าไปทำธุรกิจเดิมต่อได้ในระบบ
ในขณะเดียวกัน BAM ก็ดูแลระบบการเงินให้หมุนได้คล่องตัว
เพราะเมื่อธนาคารประมูลขายสินทรัพย์ออกมา
ธนาคารจะสามารถล้างหนี้เสียออกจากบัญชีได้ ในขณะเดียวกันที่ธนาคารปล่อยกู้ให้ BAM แทน
ธนาคารก็จะเปลี่ยนจากลูกหนี้ด้อยคุณภาพมาเป็นลูกหนี้ที่มีคุณภาพได้ทันที ดังนั้น
ในการธนาคารจะได้สภาพคล่องกลับไปเพื่อไปทำธุรกิจใหม่
ทองอุไรเสริมว่า
เมื่อได้สินทรัพย์เหล่านั้นมาแล้วก็จะนำมา
บริหารจัดการ ซึ่ง BAM ก็มีโครงการในการดูแลและช่วยเหลือลูกหนี้
เช่น โครงการสุขใจได้บ้านคืน โครงการช่วยฟื้นคืนธุรกิจ เป็นต้น
ซึ่งทีมงานที่มีความชำนาญของ BAM
จะคุยกับลูกหนี้
เพื่อหาความสามารถในการชำระหนี้ที่เป็นไปได้ให้ลูกหนี้แต่ละราย
โดยในช่วงแรกอาจจะให้ชำระแค่เงินต้นก่อน
พอเริ่มฟื้นตัวจึงค่อยเดินดอกเบี้ยซึ่งก็ไม่ได้แพงมาก เป็นดอกเบี้ยตามต้นทุนค่าจ้างพนักงานของ
BAM
“เมื่อเราสามารถปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ได้
เขาจ่ายคืนเราทุกๆ ปี ลูกหนี้ก็จะกลายเป็นลูกหนี้ที่ดี ปลดตนเองจากสถานะที่เป็น NPL เพราะเขาเดินบัญชีที่ดีกับเรา
และทำให้เขาสามารถกลับไปมีที่ยืนในระบบเศรษฐกิจได้อย่างเดิม”
ทองอุไรกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน
มีลูกหนี้แค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่ติดปัญหาไม่สามารถชำระได้ มีแค่พันกว่าราย
แต่ลูกหนี้เหล่านั้นก็กลับมาคุยกับ BAM ไม่ได้หนีหายไปเพื่อรักษาสถานะของความเป็นลูกหนี้ที่ดี
ซึ่ง BAM ก็เข้าใจและหาทางออกให้เพื่อทำข้อตกลงใหม่
หรือยืดระยะเวลาให้ เพราะธุรกิจของ BAM นั้นจัดได้ว่าเป็น CSR in Process ที่ดูแลลูกหนี้ในทุกกระบวนการทำงานเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถก้าวไปด้วยกัน
ในปัจจุบันมีลูกหนี้ที่เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ใหม่กับ BAM มากกว่า
1 หมื่นราย
ปรับฐานองค์กร
สู่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดีที่สุดในประเทศ
ทองอุไรกล่าวว่า
หลังจากที่จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีหลายอย่างที่คุยกันว่าจะทำอะไรต่อไป
ธุรกิจหลักยังไงก็ต้องดำเนินต่อไป แต่ต้องหาวิธีใหม่
เนื่องจากการทำธุรกิจแบบเดิมนั้นต้องใช้เวลาในการบริหารจัดการ
เพราะต้องมาคุยกันหลายเรื่อง ต้องหาหลักประกัน
การทำสัญญาแต่ละครั้งกว่าจะเริ่มทำได้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
และกว่าจะได้จุดคุ้มทุนในแต่ละพอร์ตที่ BAM ลงทุนไปก็ใช้เวลาพอสมควร
และไม่สอดคล้องกับวิธีการทำธุรกิจในปัจจุบัน
ธุรกิจสมัยใหม่นั้น ทองอุไรได้ยกตัวอย่าง Airbnb ที่ไม่มีบ้านแม้แต่หลังเดียวแต่สามารถทำธุรกิจขายบ้านได้
เช่นเดียวกับ Grab ที่ไม่มีรถเลยแม้แต่คันเดียวแต่สามารถรับส่งผู้โดยสาร
รับส่งเอกสารหรืออาหารได้ ดังนั้น BAM
จะต้องหาวิธีทำธุรกิจที่เป็น ไปในลักษณะที่ Airbnb และ
Grab ทำซึ่งนี่คือแนวคิดใหม่ที่
BAM กำลังจะก้าวไปในอนาคต
อีกส่วนหนึ่งเพื่อไม่ให้ โดนดิสรัปจากการพัฒนาที่ก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในปัจจุบัน
อย่างโครงการแรกที่ต้องทำคือ BAM
Digital Enterprise หรือ BAM - D อีกทั้งโครงการนี้ยังมีที่มาจากแนวคิด 5 ดี ประกอบด้วย ดีต่อประเทศ ดีต่อสังคม
ดีต่อลูกค้า ดีต่อผู้ถือหุ้น ดีต่อพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ BAM มุ่งมั่นที่จะไปในจุดนั้น
คือการเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้ไม่ถูกดิสรัป และเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
เพื่อจะเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดีที่สุดในประเทศให้ได้
“การทำ
BAM - D นั้นถือว่าเป็นแค่ฐานขององค์กรที่เราจะทำเพราะว่าเราต้องตอบโจทย์ตัวเองว่า
มีกฎหมายหรือระเบียบอะไรบ้างที่ต้องปรับ มีโจทย์อะไรบ้างที่จะดิสรัปเรา
คนของเราเป็นอย่างไร เราจะไปข้างหน้าอย่างไร ซึ่งเราเรียกว่า Redesign Process โดยเราเปิดให้น้องๆ
พนักงานทุกแผนกเสนอขึ้นมาว่าจะปรับกระบวนการองค์กรอย่างไรให้สามารถเก็บหนี้ได้สั้นลง
เพราะยิ่งสั้นลงเท่าไหร่ จุดคุ้มทุนก็เร็วขึ้นเท่านั้น ส่งผลดีต่อบริษัท
ดีต่อลูกหนี้ และดีต่อผู้ถือหุ้น”
นอกจากนี้ BAM ได้ตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 5 ปีข้างหน้าจะเป็นบริษัท SmartAMC ซึ่งขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยี ในระยะกลางต้องเป็นศูนย์กลางในการสร้างมูลค่าให้กับทรัพย์สินทั้งระบบในประเทศโดยจะต้องเป็น One Stop Service ของแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ และท้ายที่สุดคือก้าวไปจนถึงระดับ Regional AMC Expansion
เป็นความภาคภูมิใจของทีมงาน ทุกคนในบริษัท เพราะกว่าจะมาถึงวันนี้ ทีมงานทุกคนตั้งใจทำงานหนักมาก มาตลอด 20 ปี ขอขอบคุณ ทุกฝ่าย
ที่ให้การสนับสนุน BAM ตลอดมา
และมีส่วนผลักดันให้สามารถเข้าสู่
ตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกทั้งรางวัลนี้ได้มา
จากการร่วมกันพิจารณาจากหลายฝ่าย
นั่นหมายความว่า BAM สามารถผ่าน
ข้อกำหนดทั้งหมดได้ จึงทำให้เป็นความภาคภูมิใจของทุกๆ คนในบริษัทเป็นอย่างมาก
รับชมวิดีโอสัมภาษณ์...