Best Asset Management Company Award รางวัลบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนยอดเยี่ยม
ไม่มีใครอยากได้แค่กองทุนรวม ผู้ลงทุนอยากได้ ผลลัพธ์ของกองทุนรวมมากกว่าแต่ผลลัพธ์ที่ดีก็ต้องมาจากศักยภาพการบริหารจัดการที่ดีด้วยเช่นกันดังนั้น บลจ.กสิกรไทย จึงสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ทีมงานทุกคนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมองเป้าหมายเดียวกันในการที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีรวมถึงต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนในจังหวะที่เหมาะสมตลอดการลงทุน
SET Awards
2021
Best Asset
Management Company Award
รางวัลบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนยอดเยี่ยม
ด้วยผลงานและความสามารถในการดำเนินงานทางธุรกิจที่โดดเด่นในปีที่ผ่านมา
ส่งผลให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ได้รับคัดเลือกเป็น
บลจ.ยอดเยี่ยมแห่งปี โดยสามารถคว้ารางวัล Best Asset Management Company Award 2021
มาครองได้สำเร็จเป็นสมัยที่ 4
วศิน วณิชย์วรนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า
ทุกครั้งที่บริษัทได้รับรางวัลใดๆ
จะรู้สึกขอบคุณลูกค้าผู้ลงทุนและทีมงานของบริษัททุกคน
เพราะทุกรางวัลล้วนช่วยตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดกองทุนรวมของ บลจ.กสิกรไทย
ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้
ยังสะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพของทีมงานที่มุ่งพัฒนากองทุนรวมและบริการด้านการลงทุนเพื่อให้ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
สอดรับกับเทรนด์โลก รวมถึงยังสามารถรักษาผลการดำเนินงานของกองทุนให้อยู่ในระดับที่ดีได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว
3
เคล็ด (ไม่) ลับ
บลจ.กสิกรไทย ครองใจผู้ลงทุน
“ไม่มีใครอยากได้แค่กองทุนรวม
ทุกคนอยากได้ผลลัพธ์ของกองทุนรวมมากกว่า แต่ผลลัพธ์ที่ดีก็ต้องมาจากศักยภาพการบริหารจัดการที่ดีด้วยเช่นกัน
ดังนั้น บลจ.กสิกรไทย
จึงสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ทีมงานทุกคนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
และมองเป้าหมายเดียวกันในการที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดี
รวมถึงต้องให้ข้อมูลแก่นักลงทุนในจังหวะที่เหมาะสมตลอดการลงทุน”
นอกจาก 3 เคล็ด (ไม่) ลับที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
วศินเสริมว่า
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมีควบคู่กันคือความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวพนักงานในองค์กรว่าทีมงานทุกคนสามารถมีแนวคิดที่หลากหลายและแตกต่างได้
ซึ่งแนวคิดต่างๆ ที่ทีมงานทุกคนปรึกษาหารือกันนั้นมีจุดมุ่งหมายไปในทิศทางเดียวกัน
ภายใต้เป้าหมายที่ต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ลงทุน ทำให้
บลจ.กสิกรไทยประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุนเสมอมา
ESG เมกะเทรนด์มาแรง
เพื่ออนาคตแห่งความยั่งยืน
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทยปี 2565วศินมีมุมมองว่า
จะเติบโตใกล้เคียงกับ 2
ปีที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัว 4%
ต่อปี เมื่อเทียบกับ 5
ปีที่ผ่านมา เติบโต 6-7%
ต่อปี โดยในช่วง 2
ปีที่ผ่านมา แม้เผชิญสภาวะแวดล้อมที่ผันผวน
แต่จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมยังขยายตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้
จะเห็นได้ว่าผู้ลงทุนสนใจลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายมากขึ้น
รวมถึงการลงทุนผ่านกองทุนรวมต่างประเทศมากขึ้น
และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ค่อนข้างดีในช่วง 2
ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
เช่นเดียวกับที่การแข่งขันในอุตสาหกรรมกองทุนรวมมีมากขึ้น
ทั้งในเรื่องจำนวนกองทุนในตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายที่เปิดกว้างมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาสอดรับกับการพัฒนาของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
จนทำให้ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มให้เลือกใช้กันมากมายซึ่งก็ตอบรับความต้องการใหม่ๆ
ของผู้ลงทุนได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ วศินมีมุมมองว่า ปัจจุบันความสนใจในการลงทุนที่เน้นด้าน
ESG มีมากขึ้นและเป็นเมกะเทรนด์ที่ควรจับตาเป็นอย่างยิ่งในประเทศไทยเองก็มีหลายองค์กรได้ยกระดับการทำธุรกิจโดยคำนึงถึง
ESG มาเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น
อย่างไรก็ดี กองทุนรวมที่มีการบวกธีม ESG เข้าไปไม่ได้ทำให้ผลตอบแทนด้อยลงกว่าเมื่อเทียบกับกองทุนรวมทั่วไป
และยังมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
ทั้งการระบาดของโควิด-19
และปัญหามลพิษต่างๆ ทำให้เกิดกระแสของความตระหนักในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
สู่การแก้ไขและเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันมีเม็ดเงินลงทุนในกองทุนกลุ่ม ESG ทั่วโลกสูงถึงประมาณ
5
หมื่นล้านดอลลาร์
สำหรับ KAsset มีการนำหลักปฏิบัติ Investment Governance Code ที่ริเริ่มโดยสำนักงาน
ก.ล.ต. สำหรับผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ
มาเป็นหลักปฏิบัติในการลงทุนที่มีธรรมาภิบาลตั้งแต่ปี 2560
และล่าสุดในเดือนธันวาคม 2564
KAsset ได้เข้าร่วมลงนามใน UN PRI หรือ
Principles for
Responsible Investment ซึ่งเป็นหลักการลงทุนที่รับผิดชอบในระดับสากล
ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดย KAsset เป็น บลจ.ไทยแห่งแรกที่เข้าร่วมลงนาม
เศรษฐกิจโลกปี 65
กับการเผชิญหน้าความผันผวน
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงนี้ต้องเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงในหลายประเทศทั่วโลก
ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งเปลี่ยนมามีท่าทีดำเนินนโยบายทางการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น
แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นเพื่อชะลอความร้อนแรงของเงินเฟ้อนี้เอง กดดันให้ Bond Yield ทั่วโลกปรับตัวขึ้นมาอย่างมีนัยตั้งแต่ช่วงต้นปี
โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ของไทยปรับตัวขึ้นจาก 1.9% ณ
สิ้นปี 64
มาที่ 2.21% (ข้อมูล
ณ วันที่ 15
ก.พ. 65)
“ทิศทางอัตราดอกเบี้ยไทยต่างจากของโลก
และคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50%
ตลอดทั้งปีนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อทั้งปีน่าจะอยู่ในกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของ ธปท.ที่
1-3%
และเศรษฐกิจอาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยปีหน้ากว่าจะกลับมาฟิ้นตัวใกล้เคียงระดับก่อนเกิดโควิด-19
อย่างไรก็ดี บลจ.กสิกรไทย มองว่า
ความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศจะสูงกว่าของในประเทศ เนื่องจากไทยยังไม่มีแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ทำให้
ธปท. ต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย”
นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน
ที่ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเงินเฟ้อและเศรษฐกิจโลกโดยรวม อย่างไรก็ดี
การเจรจากันระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่เบลารุส
หลายฝ่ายมองว่าอาจช่วยลดความตึงเครียดของสถานการณ์ได้บ้าง
ซึ่งอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้นในเร็วๆ นี้
คำแนะนำผู้ลงทุน
แม้ว่าความผันผวนจะยังมีสูง
แต่ก็เป็นจังหวะซื้อเมื่อตลาดย่อตัวสำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง
โดยผลกระทบต่อฝั่งเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม จะมีน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ
แนะนำ K-CHINA, K-JP และ
K-VIETNAM นอกจากนี้ยังมีกองทุนหุ้น
กลุ่ม ESG ทั่วโลก
ได้แก่ K-CHANGE และ
K-CLIMATE
สำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย
แนะนำกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นอย่าง K-SFPLUS และกองทุนตราสารหนี้ระยะปานกลางถึงยาวอย่าง K-FIXED และ
K-CBOND