ความแตกต่างในกลยุทธ์ White Label, Private Label และ OEM
วันนี้มีรูปแบบการทำธุรกิจที่จะช่วยให้ชาว Startup และ SME สามารถนำไปพิจารณาในการปรับกลยุทธ์ หรือแม้กระทั่ง Transform ธุรกิจให้ดำเนินการได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ, เข้าถึงกลุ่มลูกค้า, ลดระยะเวลาลองผิดลองถูก (ซึ่งไม่เหมาะเลยสำหรับการต้องเสียเวลา ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้), ลดต้นทุนด้านการตลาด, ลดสินค้าคงคลังทั้ง work in process และ finish goods, ฯลฯ ฟังดูแล้วน่าสนใจ และยังเหมาะกับการเตรียมวางแผน Strategy ในปีหน้าที่เป็นปีแบบ VUCA (Volatile-ผันผวน, Uncertainty-ไม่แน่นอน, Complex-ซับซ้อน, Ambiguous-คลุมเครือ) ของพวกเราด้วยใช่ไหมครับ อย่างนั้นมาดูสรุป Concept แบบเข้าใจง่าย ของกลยุทธ์แบบ White Label, Private Label, และ OEM ที่ใช้ได้ทั้งในกรณีที่เราเป็นผู้ผลิตสินค้า และผู้ที่เป็นคนหาสินค้ามาขายกันครับ
White Label:
“Your name, Your Brand
อย่างอื่นไม่ต้องกังวล”
ผู้ผลิตแบบ
White
Label มี Design และรูปแบบต่างๆ ให้ลูกค้าที่เป็น
Retailer หรือ Brand เลือกได้อย่างจุใจ
ทำให้สินค้าออกมามีความ Unique เสมือน Retailer เป็นผู้ออกแบบเอง (โดยใช้กระบวนการผลิตที่ได้ออกแบบไว้แล้ว) หลังจากผลิตแล้ว
Retailer จะนำไปติด Brand ของตัวเอง ดังนั้น
Retailer จึงลดภาระในส่วนของการเลือก และบริหารจัดการวัตถุดิบ
รวมทั้งกระบวนการผลิต แต่ยังมีความเป็นตัวตนสูง
ยกตัวอย่าง
เช่นการทำ Platform การเรียน
ธุรกิจเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องพัฒนา Software เอง แต่นำ Platform
ของเหล่า Dev ที่มีอยู่แล้วมาให้เค้าปรับหน้าตา
และใส่ Content ลงไป ตัวอย่างเช่น Start Up ไทยของเราที่ชื่อว่า FrogGenius ที่สร้าง Platform
สำหรับการเรียน การออกประกาศนียบัตร ระบบการชำระเงิน แบบครบทุกฟังก์ชั่น
ให้กับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีลูกค้าเป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ เช่น ตลาดหลักทรัพย์,
สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นต้น
นอกจากนี้ สามารถใช้ Concept แบบ White Label แล้วบิดมุมมองสักนิดจะได้ Business model ใหม่ ที่สร้างประสิทธิภาพให้ในระดับประเทศได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ คือโครงการ White Label ATM ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เป็น ATM ไม่มียี่ห้อ ไม่แบ่งว่าเป็นของธนาคารใด ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่อง ATM ได้มากขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายการขนส่งเงินอย่างมาก (ค่าผลิตและขนส่งเงินสดทั้งระบบมีประมาณ 5 หมื่นล้านบาท เป็นค่าขนส่ง 80%)
Private Label:
“คนผลิตไม่ต้องกังวลเรื่อง
marketing คนขายของไม่ต้องกังวลและเสียเวลาเรื่องการผลิต”
Retailer (ธุรกิจที่เป็นคนที่ขายของให้กับกลุ่มลูกค้าโดยตรง) จะทำหน้าที่ Focus เรื่องการพัฒนา Brand และเรื่องของรายได้เท่านั้นพอ สินค้าที่ใช้รูปแบบ Private Label จะถูกทำและขายให้กับ Retailer เพียงเจ้าเดียว และ Retailer มีแผนในการสั่งทำเรื่อยๆ หากขายได้ ซึ่งข้อนี้ทำให้ Private Label มีความแตกต่างจาก White Label ตัวอย่างของ Private Label มีอาทิเช่น IKEA, Tesco Everyday Value
OEM (Original Equipment
Manufacturer):
เมื่อบริษัทผู้ผลิต
ผลิตสินค้าตาม design ของลูกค้า เราจะเรียกกันว่า
สินค้า OEM ซึ่งทำให้บริษัทที่ต้องการขายสินค้านั้นๆ
ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงงานเอง แต่บริษัทที่ต้องการขายสินค้าต้อง ให้รายละเอียดของ Design, สูตรต่างๆ ให้กับ บริษัทที่เป็น OEM
สินค้า OEM มักจะเป็นสินค้าใหม่ และมักจะเป็นพัฒนาการขั้นต่อเนื่องมาจาก Private Label ที่ยังคงใช้ design ของผู้ผลิต
|
White
label |
Private
Label |
OEM |
Retailer |
หลายเจ้า |
เจ้าเดียว |
เจ้าเดียว |
Production |
ครั้งเดียว |
หลายครั้ง |
หลายครั้ง |
Design |
คนผลิต |
คนผลิต |
คนจ้าง |
Brand |
Retailer |
Retailer |
Retailer |
License |
คนผลิต |
คนผลิต |
คนจ้าง |
สรุป
White
Label, Private Label หรือ OEM เป็นรูปแบบกระบวนการที่บริษัทหนึ่งเป็นคนผลิต
อีกบริษัทเป็นคนทำการตลาดและขาย โดยมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ผู้บริโภคนั้นมักไม่รู้ว่าคนที่เป็นผู้ผลิตสินค้านั้นจริงๆ
เป็นใคร ในขณะที่ สิ่งที่แตกต่างคือ ผู้ที่เป็นเจ้าของ Design หรือลิขสิทธิ์ ของสินค้านั้นๆ หรือจำนวนครั้งที่ทำ
เมื่อลองมาคิดดูจะเห็นว่าบริษัทต่างๆ ใกล้ๆ ตัวเราจำนวนมากมีการดำเนินการด้วยกลยุทธ์แบบนี้
ดังนั้นพวกเราที่เป็น Startup และ SME ลองนำไปเป็นแผนกลยุทธ์ที่จะใช้ในการวางแผนในอนาคตข้างหน้ากันนะครับ
น่าจะเป็นประโยชน์ ลดต้นทุน และสร้างความแข็งแกร่งให้กิจการได้ครับ พบกันใหม่ในครั้งหน้าครับ
รักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจ กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ