People : ตัน คีท จิน ผู้บริหารสูงสุดธุรกิจรายย่อย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
ตัน คีท จิน
ผู้บริหารสูงสุดธุรกิจรายย่อย
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
Building a
Digital-ledConsumer Bank
ใช้ดิจิทัลสร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้า
โลกที่เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว
สถาบันการเงินหลายแห่งมุ่งสู่การเป็น Digital Bank ในฝั่งของ Consumer Banking ของธนาคารซีไอเอ็มบี
ไทย นำโดย ตัน คีท จิน ผู้บริหารสูงสุดธุรกิจรายย่อยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด
(มหาชน) มีเป้าหมายเป็นธนาคารที่นำดิจิทัลมาสร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้า(Building a Digital-ledConsumer Bank)
“ซีไอเอ็มบี
ไทย ไม่ได้ต้องการเป็น Digital
Bank แต่ต้องการเป็น Digital led-bank หรือให้ดิจิทัลเป็นผู้นำ
หัวใจคือดิจิทัลไม่ได้มาแทนแต่มาช่วยเสริมให้เราสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ดีถึงลูกค้าได้โดยตรงไปพร้อมๆกับช่วยบริหารต้นทุนของธนาคาร”
เขากล่าวว่า
แม้จะมีคนบอกว่าธุรกิจรายย่อยของไทยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ซีไอเอ็มบี ไทย
มีความแตกต่างจากที่อื่น เนื่องจากมีทีมที่เป็นคนไทย รวมถึงซีไอเอ็มบี
กรุ๊ปมีความเข้าใจในตลาดและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศและใช้กลยุทธ์สำหรับแต่ละประเทศแตกต่างกัน
ตัน
คีท จิน มีประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคารในสถาบันการเงินหลายประเทศ
เช่นอินโดนีเซีย สิงคโปร์อังกฤษรวมทั้งธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย
และได้เข้าทำงานกับซีไอเอ็มบี กรุ๊ปเป็นเวลามากกว่า 10
ปีสำหรับประเทศไทยได้มาทำงานที่ซีไอเอ็มบี ไทยเป็นเวลา 5
ปีโดยได้ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย เมื่อต้นปี 2563
และปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดธุรกิจรายย่อย
กำหนด 4 ยุทธศาสตร์
พิชิต 5 เป้าหมายใหญ่
ตัน คีท จิน กล่าวว่า Consumer Banking ของ ซีไอเอ็มบีไทย ได้วางเป้าหมายในระยะยาวตั้งแต่ปี 2021-2024 ใน 5 เรื่องได้แก่
1. มีเครื่องมือวัดผลการดำเนินงานที่พิจารณาถึงความเสี่ยงอย่างครอบคลุมมากกว่า 20% (RAROC > 20%)
2. มีรายได้มากกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท
3. มีอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้มากกว่า 40%(Cost-Income Ratio < 40%) โดยปัจจุบันอยู่ที่ 48%
4. มีต้นทุนความเสี่ยงของสินเชื่อที่ไม่ได้รับชำระคืนน้อยกว่า 1.6% (Credit Cost < 1.6%) และ
5. มีกำไรก่อนหักภาษีมากกว่า 5 พันล้านบาท
เขากล่าวต่อว่า
การที่จะไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้นั้น ได้กำหนดยุทธศาสตร์ (STRATEGIC THEMES) ที่สำคัญ
4 ด้านได้แก่
1. Wealth & PreferredHighlights ขยายธุรกิจบริหารความมั่งคั่งอย่างเต็มที่โดยพร้อมขับเคลื่อนด้วยการส่งมอบ
5 สิ่งหลักให้ลูกค้า ได้แก่
คำแนะนำผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละรายบริการให้คำปรึกษาส่วนบุคคลและเป็นมืออาชีพลูกค้าสามารถเข้าถึงการลงทุนระดับภูมิภาคพร้อมสิทธิประโยชน์ได้รีวอร์ดและสิทธิพิเศษระดับพรีเมียมรวมทั้งลูกค้าจะเข้าถึงช่องทางบริการหลากหลายและง่ายดาย
นอกจากนี้ ยังรวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
โดยซีไอเอ็มบี ไทยได้ออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นไฮไลต์ คือWealth Credit Lineเป็นสินเชื่อที่นำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันเพื่อนำไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคาร
ซีไอเอ็มบี ไทย สำหรับนักลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth)วงเงินสินเชื่อสูงสุดถึง 95%
ของหลักประกันและลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากพอร์ตการลงทุนที่มีเพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้น “Wealth Credit Lineนอกจากจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนแล้วยังเป็นเครื่องมือสินเชื่อเพื่อช่วยในการจัดพอร์ตการลงทุนของลูกค้า
เช่นเมื่อลูกค้ามีพอร์ตการลงทุนอยู่แล้วเงินตรงนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถลงทุนเพิ่มและจัดพอร์ตให้เป็นความเสี่ยงในแบบที่ลูกค้าต้องการได้”
2.
สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อย โดยให้สินเชื่ออย่างยั่งยืนและสร้างผลกำไร (Sustainable & Profitable Lending) ทำให้สินเชื่อเติบโตอย่างเหมาะสมผ่านเครื่องยนต์แห่งการให้กู้ยืมเพิ่มความเข้มแข็งในการติดตามหนี้
และเพิ่มความสามารถในการฟื้นคืนสู่สภาพปกติ
ตลอดจนขยายการขายผลิตภัณฑ์ข้ามกลุ่มผ่านช่องทางดิจิทัลใหม่ๆและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยปัจจุบันซีไอเอ็มบี
ไทย มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทั้ง สินเชื่อไม่มีหลักประกัน
สินเชื่อมีหลักประกัน สินเชื่อรถยนต์ และ สินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
สินเชื่อไม่มีหลักประกัน (Unsecured Lending) เพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านพันธมิตร (Grow NII via partnerships) โดยปัจจุบันซีไอเอ็มบี
ไทยอยู่ระหว่างการหาพาร์ตเนอร์เพื่อออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการซื้อของออนไลน์
เช่น เมื่อต้องการซื้อของผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ จะสามารถเลือกได้ว่าจะชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือสินเชื่อ
ออกฟีเจอร์ใหม่ของผลิตภัณฑ์ (Launch Newproduct Features) โดยจากที่ปัจจุบันซีไอเอ็มบี
ไทย มีผลิตภัณฑ์Personal
Cash และ Extra Cash หรือบัตรกดเงินสด
โดยจะมีฟีจเจอร์ใหม่คือลูกค้าที่ใช้บริการ Extra Cash จะสามารถผ่อนชำระได้จากเดิมที่ต้องจ่ายเต็มจำนวนหรือจ่ายขั้นต่ำ
การใช้ระบบประมวลผลแบบตรง (Straight-through processing (STP)) เพื่อทำให้ลูกค้ารู้ผลการอนุมัติสินเชื่อได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้เทคโนโลยี
เช่น eKYC เข้ามาช่วยและ
การยกระดับการนำเสนอเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า(B-score: Enhanced ETB offerings) โดย
B-score เป็น
Credit Scoring ประเภทหนึ่งที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด
สินเชื่อมีหลักประกัน (Secured Lending) : รักษาความเป็นผู้นำด้านราคาของผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนสูง
เพิ่ม top-up ให้ลูกค้าเก่าเพื่อรักษาฐานลูกค้าและประเมินคุณภาพเพื่อคุณภาพของประสบการณ์ลูกค้าและสินทรัพย์
สินเชื่อรถยนต์ : 4-Wheelers (CIMB Thai Auto) เน้นลูกค้ากลุ่มที่ดีขยายสินเชื่อผ่านดิจิทัลรวมถึงเน้นลูกค้ากลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงและเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านการขายพ่วงประกัน
สินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ : 2-Wheelers (Worldlease) ยกระดับพอร์ตโฟลิโอผ่านดีลเลอร์และลูกค้าปรับปรุงระบบติดตามทวงถามการเปลี่ยนแปลงรูปแบบดิจิทัลและในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลเจาะกลุ่มลูกค้าMass Segment
“ซีไอเอ็มบี
ไทย มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ครอบคลุมตลาดสินเชื่อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ และ สินเชื่อรถยนต์
โดยจากผลของการระบาดของ COVID-19
ที่ผ่านมาเชื่อว่าปัจจุบันเราผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วและคาดว่าตลาดสินเชื่อจะเติบโตได้ในปีนี้”
3. ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยที่นำด้วยดิจิทัล โดยปฏิวัติช่องทางการกระจายผลิตภัณฑ์ให้รองรับดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น Digital Wealth ความมั่งคั่งผ่านดิจิทัล Digital Lending การให้กู้ยืมผ่านดิจิทัล Digital CASA ออมทรัพย์ดิจิทัล
Digitise operations /
Branches ระบบปฏิบัติการ / สาขารูปแบบดิจิทัล
โดยปัจจุบันซีไอเอ็มบี ไทย
มีผลิตภัณฑ์ออมทรัพย์ดิจิทัล หรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ชิลดี (Chill D Digital Savings) ที่สามารถเปิดบัญชี
Chill D ได้สะดวกผ่านมือถือยืนยันตัวตนได้ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสดอกเบี้ยสูงสุดถึง
2% ต่อปีไม่กำหนดวงเงินฝากขั้นต่ำไม่มีสมุดบัญชีเงินฝาก และไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้ารายปีของบัตรเดบิต
“พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันชอบเปิดบัญชีผ่านชองทางออนไลน์มากกว่าไปที่สาขา
เห็นได้จากจำนวนสาขาที่ของธนาคารที่ลดลงจากช่วงต้นปี 2020อยู่ที่ 70 สาขา มีลูกค้า
1,725 บัญชี ขณะที่สิ้นปีมีจำนวนสาขาอยู่ที่ 59 สาขา แต่มีลูกค้าที่ 12,103
บัญชีโดยเกินครึ่งเป็นลูกค้าที่เปิดบัญชีออมทรัพย์ดิจิทัล หรือ
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ชิลดี”
4.
ควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ต้นทุนปรับปรุงประสิทธิภาพของงานขายศึกษาการที่จะรวมการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ของบริษัทลูกเข้ามารวมในระบบของธนาคารเพื่อลดต้นทุน
มั่นใจปี 2021
ไปถึงเป้าหมายแน่
ตัน
คีท จินกล่าวว่า ธุรกิจด้านConsumer
Bank ของซีไอเอ็มบี ไทย ในปี 2564
ตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัว 4-5% จากที่คาดว่าตลาดสินเชื่อในปีนี้จะโตราว 7%
โดยซีไอเอ็มบี ไทย จะโฟกัสที่สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ขณะที่ Fee Income Growth คาดว่า จะเติบโตที่
21.1% โดยมาจากธุรกิจ Wealth
เป็นหลัก
สำหรับ NPL คาดว่าจะอยู่ที่ 4.2% และ Credit Costจะอยู่ที่
2.0% นอกจากนี้ที่ผ่านมา Consumer
Bank สามารถสร้างรายได้ให้ธนาคารประมาณ 60-65%
โดยวางเป้าหมายว่ารายได้ของ Consumer
Bank จะขยับขึ้นไปที่ 70% ในปี 2024
“ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ค่อนข้างแย่จากสถานการณ์
COVID-19
แต่ในปีนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
หากไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นมั่นใจว่าจะสามารถไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างแน่นอน”
ติดตามคอลัมน์ People ได้ในวารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนเมษายน 2564 ฉบับที่ 468 บนแผงหนังสือชั้นนำทั้่วประเทศและในรูปแบบดิจิทัล : https://goo.gl/U6OnIi